หน้าหลัก
ประวัติของโรงเรียน
สัญลักษณ์ของโรงเรียน
วิสัยทัศน์/พันธกิจ/เป้าหมาย
ผังการบริหาร
ผังองค์กร
ลักษณะเฉพาะ
แผนที่ของโรงเรียน
แผนผังของโรงเรียน
เพลงมาร์ชประจำโรงเรียน
คณะครูผู้สอน
ปฏิทินกิจกรรม
แผนผังของโรงเรียน
 
 
บริหารการจัดการ
ฝ่ายวิชาการ
ฝ่ายธุรการการเงิน
ฝ่ายกิจการนักเรียน
ฝ่ายบริการ
 
 
ระเบียบการต่างๆ
ระเบียบการรับสมัคร
ค่าใช้จ่ายนักเรียน
ระเบียบเครื่องแต่งกาย
 
 
หลักสูตรการศึกษา
ระดับปฐมวัย
ระดับช่วงชั้นที่ 1
ระดับช่วงชั้นที่ 2
ระดับช่วงชั้นที่ 3
 
 
บริหารต่างๆ
อาคารชั้นเรียนต่างๆ
หอพักนักเรียนประจำ
ห้องอาหาร
กิจกรรมสันทนาการ
บรรยากาศแสนสบาย
อาคารประกอบ
สนามกีฬานานาชนิด
ห้องดนตรีไทย
ห้องคอมพิวเตอร์
ห้องสมุด
ห้องพยาบาล
ห้องกิจกรรมลูกเสือ
ห้องวิทยาศาสตร์
 
 

ลืมบ่อยจังสงสัยเป็นโรคสมองเสื่อม

“การลืมเป็นสิ่งปกติที่เกิดขึ้นได้ แต่ในบางลักษณะเป็นการลืมทั้งที่ไม่น่าลืมและอาจเป็นสัญญาณของโรคสมองเสื่อม”
โดย น.พ.เอกพจน์ นิ่มกุลรัตน์
( "9 ทันโรค วารสารเพื่อสุขภาพอนามัยของโรงพยาบาลพระรามเก้า ปีที่ 12 ฉบับเดือนสิงหาคม 2547)

ทุกท่านคงเคยได้ยินคนใกล้ตัว เพื่อนฝูง ญาติพี่น้อง บ่นว่า หมู่นี้ขี้ลืมจัง สงสัยจะเป็นโรคสมองเสื่อมหรือโรคอัลไซเมอร์แล้ว แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรละว่า ลืมลักษณธอย่างไหนจึงเป็นโรค อย่างไหนเกิดขึ้นได้ในคนปกติ อย่างไหนเกิดขึ้นได้ในคนปกติ ถ้าท่านติดตามอ่านต่อไปก็จะได้คำตอบครับ
ในชีวิตคนเราอย่างน้อย จะมีสักครั้งที่เราลืมอหรือจำไม่ได้ในสิ่งที่ผ่านเข้ามา เช่น จำไม่ได้ว่าวางสิ่งของไว้ที่ไหน ลืมของบนรถเมล์ ลืมคำพูดที่ตนเองเคยพูดไปแล้ว และลืมอีกหลายๆ อย่าง บางคนลืมบ่อยจนคิดว่าเป็นเรื่องธรรมดา แต่เราจะรู้ได้อย่างไรว่าการที่เราลืมบ่อยหรือจำไม่ได้นั้นเป็นสิ่งผิดปกติหรือไม่ เราต้องดูว่าสิ่งที่ลืมหรือจำไม่ได้มีลักษณะดังต่อไปนี้หรือไม่

1. ลืมเหตุการณ์หรือสิ่งที่เกิดขึ้นใหม่ๆ เป็นนาที เป็นต้น เป็นสัปดาห์
2. สิ่งที่ลืมมักเป็นสิ่งที่มีผลกระทบกับตัวเองไม่ว่าในด้านชีวิตประจำวัน การงาน การเข้าสังคม และกระทบต่อคนอื่น เช่น ครูลืมว่าชั่วโมงต่อไปต้องเข้าสอน, ลืมทานอาหาร นึกว่าทานแล้ว
3. ถ้าย้อนนึกหรือพยายามลำดับเหตุการณ์สิ่งที่ลืมก็ไม่สามารถระลึกได้ พูดง่ายๆ ก็คือนึกเท่าไรก็นึกไม่ออก
4. สิ่งที่ลืมต้องเป็นสิ่งที่เราจดจ่อหรือมีสติอยู่กับสิ่งนั้นๆ ไม่ใช่จดจ่อกับสิ่งหนึ่งแล้วลืมสิ่งหนึ่ง เช่น เอาหนังสือไปวางไว้และรีบวิ่งเข้าห้องสอบ พอสอบเสร็จจำไม่ได้ว่าวางอยู่ที่ไหน ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวเป็นการลืมที่เกิดขึ้นได้ปกติ
5. สิ่งที่ลืมเกิดขึ้นแล้วซ้ำอีก ดังนั้นต้องสังเกตตัวเอง ถ้ามีลักษณะของการลืม หรือจำไม่ได้ตาม 5 ข้อข้างต้น ข้อใดข้อหนึ่ง
หรือหลายข้อ ให้สงสัยว่าอาจจะมีปัญหาเกี่ยวกับความจำซึ่งเป็นอาการที่เราจะพบในโรคสมองเสื่อม แต่จะต้องมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น ไม่เข้าใจภาษาที่พูด เรียกสิ่งของไม่ถูก หลงทางบ่อยๆ การตัดสินในพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไป ระแวงชอบซ่อนสิ่งของ ขาดการวางแผนงาน ดังนั้นจะเห็นได้ว่าการที่มีปัญหาความจำหรือหลงลืมบ่อยๆ เป็นเพียงอาการหนึ่งของโรคเท่านั้น ซึ่งที่สำคัญก็คือ สมองเสื่อม (DEMENTIA) เป็นกลุ่มโรคที่เกิดขึ้นก่อนวัย โดยมีการลดลงหรือสูญเสียของกำลัง
ความคิด สติปัญญา ทักษะในการทำงานที่ถนัด พฤติกรรมเอกลักษณ์ในแต่ละคน เริ่มต้นจากการหลงลืมบ่อย สามารถเกิดขึ้นในคนหนุ่มสาวได้ด้วย ไม่ใช่เกิดเฉพาะคนสูงอายุ แต่ส่วนใหญ่มักจะเป็นเมื่ออายุเกิน 75 ปี

เราจะสังเกตคนรอบข้างหรือตัวเองว่า จะเป็นโรคสมองเสื่อมได้ง่ายๆ ดังนี้
1. พูดประโยคหรือคำซ้ำๆ
2. จำชื่อลูก หลาย เพื่อนสนิท หรือแม้กระทั่งเรียกชื่อสิ่งของไม่ได้ เช่น สามารถบรรยายลักษณะรูปร่างหน้าตาได้ แต่บอกชื่อไม่ได้
3. หลงทางบ่อยๆ มักเริ่มต้นที่ในบ้านก่อน เช่น เดินหาห้องน้ำไม่เจอ ต่อมามีปัญหาเมื่ออกนอกบ้านหาทางกลับบ้านไม่ถูก หรือเดินในห้างสรรพสินค้าที่เดินอยู่ประจำแล้วหาทางออกไม่ได้
4. หลงหรือไม่รู้ วัน เวลา หรือสถานที่ เช่น จำไม่ได้ว่าวันสงกรานต์เป็นวันไหน และที่ตนเองยืนอยู่เป็นที่ใด มักแสดงออกในลักษณะ เช่น ผู้ป่วยถามลูกว่าทำไมวันนี้ไม่ไปทำงานทั้งที่เป็นวันหยุด ถ้าเราไม่สนใจก็จะคิดว่าเป็นเรื่องธรรมดา แต่ถ้าเกิดขึ้นบ่อยๆ น่าจะผิดปกติ
5. หวาดระแวงคนรอบข้างมักเก่ยวข้องกับเรื่องเงินๆ ทองๆ เช่น บ่นว่าเงินในธนาคารหายไป, ภรรยาเอาแอบเงินไป, ลูกชอบขโมยเงิน ระแวงลูกๆ หวังจะเอามรดก
6. อารมณ์เปลี่ยนแปลง มักมีอารมณ์เศร้าเหงาหงอย หดหู่ท้อแท้นั่งซึมไม่ทำอะไร จากเดิมเป็นคนรน่าเริง อารมณ์แปรปรวนขึ้นเร็วลงเร็ว เช่น พูดคุยอยู่ดีๆ ก็หงุดหงิด ฉุนเฉียวง่าย ด่าว่ารุนแรง ดูบุคลิกก้าวร้าว บางครั้งถึงขั้นลงไม้ลงมือ
สำหรับโรคสมองเสื่อม มีอยู่ 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่รู้สาเหตุ และกลุ่มที่ไม่รู้สาเหตุ
- กลุ่มที่รู้สาเหตุ ถ้าหาสาเหตุพบแล้วแก้ไขหรือรักษาที่เหตุนั้น อาการของโรคก็จะดีขึ้นหรือหายไปได้
สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคสมองเสื่อมที่เรารู้ในปัจจุบัน มีดังนี้
1. ภาวะธัยรอยด์ฮอร์โมนต่ำ
2. โรคเอดส์
3. ยาบางชนิดซึ่งกินเป็นประจำ
4. โรคซิฟิลิสของระบบประสาท
5. ขาดวิตามิน บี 12 หรือ กรดโฟลิก
6. ไข้สมองอักเสบจากเชื้อไวรัส
7. โรคหลอดเลือดสมองตีบ
8. เลือดออกใต้เยื่อหุ้มสมอง

ถ้าผู้ที่มีอาการของโรคสมองเสื่อมมาพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุและทำการรักษา อาการก็จะทุเลาลงหรือหายได้ จึงมีความสำคัญอย่างมากที่ต้องสังเกตว่ามีอาการของโรคสมองเสื่อมหรือไม่ แล้วรีบมาพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุ จะเป็ฯประโยชน์เกิดเกิดผลดีต่อผู้ที่เป็นโรคนี้อย่างมาก
- กลุ่มที่ยังไม่รู้สาเหตุ เป็นกลุ่มที่พบมากที่สุด โรคที่เรารู้จักกันดีคือโรคอัลไซเมอร์ (Alzheimers disease) เป็นสาเหตุของโรคสมองเสื่อมถึง 50-70%

อาการเตือนที่เราสามารถสังเกตได้ว่าเป็นอัลไซเมอร์หรือไม่ มี 10 ข้อดังนี้
1. หลงลืมสิ่งต่างๆ บ่อยๆ ไม่สามารถย้อนระลึกได้เลย พยายามนึกเท่าไรก็นึกไม่ออก และที่สำคัญสิ่งที่ลืมนั้นต้องกระทบกับชีวิตประจำวัน
2. รู้สึกว่าสิ่งที่คุ้นเคยหรือเคยทำได้เป็นอย่างดีมีความยากลำบากในการทำมากขึ้น เช่น แม่บ้านทำอาหารทุกวัน รู้ว่ากับข้าวอย่างนี้ต้องใส่ส่วนประกอบอะไรบ้าง และวางไว้บนโต๊ะอาหาร ถ้าคนที่เป็นโรคไม่เพียงแต่ลืมยกอาหารที่ทำเสร็จแล้วมาวางบนโต๊ะเท่านั้น แต่ยังลืมวิธีทำอาหารอีกด้วย
3. มีปัญหาในการใช้ภาษาไม่ว่าจะเป็นภาษาพูดหรือภาษาเขียน ทุกคนคงเคยรู้สึกว่าบางครั้งนึกคำที่จะพูดไม่ออก ซึ่งเกิดขึ้นได้ แต่ในคนที่เป็นโรคอัลไซเมอร์ จะลืมแม้เป็นคำง่ายๆ หรือบางครั้งจะใช้คำแทนที่ไม่เหมาะสมฟังดูแปลกๆ ทำให้เราฟังแล้วไม่เข้าใจ เช่น เรียกชื่อช้อน ส้อม ปากกาไม่ได้ อาจใช้คำอื่นแทนเช่นใช้คำว่า แหลม แทนคำว่าปากกา
4. ไม่รู้วันเวลาและสถานที่ โดยปกติคนเราอาจจะลืมว่าวันนี้เป็นวันอะไร หรือ กำลังจะเดินไปไหนได้ แต่ในผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ จะรุนแรงมากถึงขั้นลืมแม้กระทั่งที่ตนเองยืนอยู่ ไม่รู้ว่าจะเดินกลับบ้านอย่างไรหรือจะเดินทางไปที่ไหน
5. การตัดสินในในสิ่งต่างๆ ที่ผ่านเข้ามาไม่ดี ในคนปกติจะตัดสินใจทำในสิ่งที่สำคัญก่อน เช่น ป้อนอาหารให้หลายก่อนที่จะไปนอนพัก แต่ในคนที่เป็นโรคอัลไซเมอร์จะเลือกไปนอนหรือทำสิ่งอื่นๆ ก่อน ที่จะมาป้อนอาหาร เป็นต้น
6. มีปัญหาในความคิดวางแผนของงานหนึ่งๆ ที่จะทำเป็นขั้นตอน ไม่รู้ว่าจะทำอะไรก่อน-หลัง เช่น จะจัดเตรียมอาหาร ต้องวางแผนตั้งแต่ไปตลาด จะซื้ออะไรมาปรุงอาหาร หั่นผัก หั่นเนื้อ ใส่อะไรก่อนหลัง ซึ่งในคนที่เป็นโรคจะรู้สึกว่าทำได้ยาก
ดังนั้นถ้าลูกหลานสังเกตเห็นว่าญาติผู้ใหญ่ทำอาหารรสชาติและชนิดอาหารผิดไปขอได้สังเกตในขณะที่กำลังทำอาหารอยู่ด้วยว่ายังทำได้ถูกหรือไม่
7. วางสิ่งของไว้ผิดที่ผิดทาง ในคนทั่วไปอาจจะลืมวางของไว้ผิดที่แล้วจำไม่ได้บ้าง ซึ่งก็เป็นเรื่องปกติ แต่ในคนที่เป็นโรคอัลไซเมอร์จะวางสิ่งของไว้ผิดที่จริงๆ คือวางในที่ซึ่งไม่ควรจะอยู่ เช่น วางเตารีดไว้ในตู้เย็นหรือวางนาฬิกาข้อมือไว้ในขวดใส่น้ำตาล เป็นต้น
8. มีพฤติกรรม หรือ อารมณ์เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม คนเราอาจจะสุข เศร้า เหงา ทุกข์ ได้ในแต่ละช่วงเวลา ซึ่งก็เป็นธรรรมดาโลกที่มีหลากหลายอารมณ์ แต่คนที่เป็นโรคอัลไซเมอร์ อารมณ์จะแปรปรวนเร็วในเวลาไม่กี่นาที เช่น กำลังหัวเราะ อยู่ดีๆ ก็มีอารมณ์โกรธทันที เดี๋ยวเดียวก็น้ำตาซึม โดยไม่มีเหตุผล เช่น นั่งดูรายการตลกทางโทรทัศน์ก็ยังร้องได้ เศร้าได้
9. มีบุคลิกภาพเปลี่ยนแปลงไป บุคลิกของคนๆ หนึ่งอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามอายุและประสบการณ์ที่มากขึ้น ซึ่งจะมีผลทำให้บุคลิกเปลี่ยนแปลงอย่างช้าๆ ค่อยเป็นค่อยไป แต่ในผู้ที่เป็นโรคนี้บุคลิกจะเปลี่ยนไปอย่างมากและรวดเร็ว เช่น เดิมเป็นคนบุคลิกเรียบร้อย พูดน้อย เก็บตัว ก็จะเป็นคนก้าวร้าว พูดจาหยาบคาย บางครั้งรุนแรงถึงขั้นทำร้ายผู้อื่น
10. ความคิดริเริ่มเสียไปแม้ว่าชีวิตประจำวันของเรา จะเหน็ดเหนื่อยอ่อนล้าจากการทำงานทั้งในบ้านและที่ทำงาน คนส่วนใหญ่ยังจะมีความคิดริเริ่มที่จะทำโน่นทำนี่อยู่บ้างมิใช่ไม่มีเลย ในผู้ที่เป็นโรคอัลไซเมอร์จะไม่มีความคิดริเริ่ม การที่จะเริ่มต้นคิดต้องมีสิ่งกระตุ้นหรือชักนำจึงจะเกิดความคิดและการกระทำตามมา
หลังจากทุกท่านอ่านมาถึงบรรทัดนี้ จะเข้าใจได้ว่าคนเรานั้นสามารถลืมได้ โดยที่ไม่ได้เป็นโรคอะไรเลย แต่ในสภาพสังคมทุนนิยมที่รีบเร่ง ทุกอย่างเป็นเงินเป็นทอง เรามีสิ่งที่เราต้องทำมากขึ้น ชีวิตซับซ้อนมากขึ้น การลืมนั้นก็จะมากขึ้นได้ เพราะสิ่งที่ต้องจำมากกว่าเดิม การพักผ่อนที่น้อยลง เราจึงได้ยินคนรอบข้างบอกว่าขี้ลืมมากขึ้น
แต่สิ่งหนี่งที่น่าแปลก คือสิ่งที่คนเราอยากลืมกลับจำ แต่สิ่งที่ควรจำกลับลืม แล้วอย่าลืมคนใกล้ตัวของคุณนะครับ…

สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติคุ้มครอง พุทธศักราช 2551


โรงเรียนเพชรบูรณ์การ์เด้นฮิลล์ - มาตราฐานความรู้ ไร้ขอบเขต บรรยากาศธรรมชาติ หนึ่งเดียวในประเทศไทย
47 หมู่ 18 ต.กันจุ อ.บึงสามพัน จ.เพชรบูรณุ์ 67160 โทรศัพท์ 056-718074