หน้าหลัก
ประวัติของโรงเรียน
สัญลักษณ์ของโรงเรียน
วิสัยทัศน์/พันธกิจ/เป้าหมาย
ผังการบริหาร
ผังองค์กร
ลักษณะเฉพาะ
แผนที่ของโรงเรียน
แผนผังของโรงเรียน
เพลงมาร์ชประจำโรงเรียน
คณะครูผู้สอน
ปฏิทินกิจกรรม
แผนผังของโรงเรียน
 
 
บริหารการจัดการ
ฝ่ายวิชาการ
ฝ่ายธุรการการเงิน
ฝ่ายกิจการนักเรียน
ฝ่ายบริการ
 
 
ระเบียบการต่างๆ
ระเบียบการรับสมัคร
ค่าใช้จ่ายนักเรียน
ระเบียบเครื่องแต่งกาย
 
 
หลักสูตรการศึกษา
ระดับปฐมวัย
ระดับช่วงชั้นที่ 1
ระดับช่วงชั้นที่ 2
ระดับช่วงชั้นที่ 3
 
 
บริหารต่างๆ
อาคารชั้นเรียนต่างๆ
หอพักนักเรียนประจำ
ห้องอาหาร
กิจกรรมสันทนาการ
บรรยากาศแสนสบาย
อาคารประกอบ
สนามกีฬานานาชนิด
ห้องดนตรีไทย
ห้องคอมพิวเตอร์
ห้องสมุด
ห้องพยาบาล
ห้องกิจกรรมลูกเสือ
ห้องวิทยาศาสตร์
 
 
วันจักรี
วันที่ 6 เมษายน ของทุกปีคือวันจักรี

วันจักรี หมายถึง วันที่ระลึกพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯ ปฐมบรมราชวงศ์จักรี เสด็จกรีฑาทัพถึง
พระมหานครทรงรับอัญเชิญขึ้นเถลิงถวัลย์ราชสมบัติ ดำรงราชอาณาจักรสยามประเทศ

ความเป็นมา
วันที่ระลึกมหาจักรี หรือที่เรียกกันโดยย่อว่าวันจักรี นั้น สืบเนื่องจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่
6 ทรงพระราชดำริว่าพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก พระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า
นภาลัย พระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบรมรูปพระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่ง
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประกอบพระราชพิธีทรงหล่อพระบรมรูป
ลักษณะเหมือนพระองค์จริงฉลองพระองค์แบบไทย ณ โรงหล่อหลังวัดพระศรีรัตนศาสดาราม (บริเวณศาลาสหทัย
สมาคมในปัจจุบัน) เพื่อสนองพระมหากรุณาธิคุณสมเด็จพระปฐมบรมราชบุพการี แล้วโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระที่นั่ง
ศิวาลัยมหาปราสาทขึ้นในพระบรมมหาราชวัง เชิญพระบรมรูปทั้ง 4 รัชกาลนั้น ประดิษฐานเพื่อเป็นพระบรมราชา
นุสรณ์ สำหรับถวายบังคมสักการะในงานพระราชพิธีฉัตรมงคลและพระราชพิธีพระชนมพรรษา

ครั้นในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสืบราชสันติวงศ์ ได้โปรดเกล้าฯ ให้จัดสร้างพระบรมรูป
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบรมชนกนาถ จากต่างประเทศ แล้วอัญเชิญขึ้นประดิษฐานร่วมกับพระบรม
รูปทั้ง 4 รัชกาลนั้น

ต่อมาทรงพระราชดำริว่าพระที่นั่งศิวาลัยมหาปราสาทยังไม่เหมาะสมที่จะมีงานถวายบังคมสักการะพระบรมรูปสมเด็จพระ
บูรพมหากษัตริยาธิราช จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ซ่อมแปลงพระพุทธปรางค์ปราสาทในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
เพื่อประดิษฐานพระบรมรูปสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราชทั้ง 5 รัชกาล พระราชทานนามใหม่ว่า ปราสาทพระเทพบิดร
โดยทรงพระอนุสรณ์คำนึงถึงพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ซึ่งได้ประดิษฐานพระบรมราชวงศ์จักรี ทรงมี
พระเดชพระคุณต่อประเทศ เมื่อมีโอกาสก็ควรแสดงความเชิดชูและระลึกถึง จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งการ
พระราชพิธีเชิญพระบรมรูปจากพระที่นั่งศิวาลัยมหาปราสาทมาประดิษฐานที่ปราสาทพระเทพบิดร เมื่อวันที่ 6 เมษายน
2461 อันเป็นดิถีคล้ายวันที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกเสด็จกรีธาทัพถึงพระนคร ได้รับอันเชิญขึ้นเถลิง
ถวัลย์ราชสมบัติพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงบรรจุพระกรัณฑ์ทองคำลงยา
ราชาวดีซึ่งบรรจุพระบรมทนต์(ฟัน) พระสุพรรณบัฏจารึกพระปรมาภิไธย พระดวงพระบรมราชสมภพ พระดวงบรมราชา
ภิเษก พระดวงสวรรคต ลง ณ เบื้องสูงของพระเศียรพระบรมรูปทั้ง รัชกาลครั้นถึงวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2461
(สมัยนั้นขึ้นปีใหม่วันที่ 1 เมษายน)

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้เจ้าพระยาธรรมาธิกรณาธิบดี(ม.ร.ว. ปุ้ม มาลากุล) เสนาบดีกระทรวงวัง ประกาศพระบรมราชโองการให้มีการกราบ ถวายบังคมพระบรมรูปสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิ
ราชเป็นการ ประจำปีกำหนดในวันที่ 6 เมษายน เป็นประเพณีสืบไป

ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้มีพระราชพิธีทรงหล่อพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระมงกุฎ
เกล้าเจ้าอยู่หัว ณ โรงหล่อกรมศิลปากร ครั้นตกแต่งพระบรมรูปเรียบร้อยแล้ว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ กำหนดการพระ
ราชพิธีประดิษฐาน พระบรมรูปที่ปราสาท
พระเทพบิดร โดยเสด็จพระราชดำเนินมาทรงบรรจุพระบรมทนต์พระสุพรรณบัฎจารึกพระปรมาภิไธยและดวงพระบรมราชสมภพ พระดวงบรมราชาภิเษก พระดวงสวรรคต ในพระกรัณฑ์ทองคำลงยา แล้วทรงบรรจุที่เบื้องสูงของพระเศียรพระบรม
รูป เมื่อวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2470

ต่อมาพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชปรารภว่า ในปี 2475 อายุพระนครจะบรรจบครบ 150 ปี สมควรมี
การสมโภชและสร้างสิ่งสำคัญ เป็นอนุสรณ์ขึ้นไว้ให้ปรากฎแก่อารยชนในนานาประเทศว่าชาวไทยมีความกตัญญูรู้คุณบรรพบุรุษที่ได้สร้างกรุงเทพฯเป็นราชธานีแล้วบำรุงรักษาประเทศ ให้เป็นอิสระสืบมาทรงปรึกษาพระราชปรารภ แก่อภิรัฐ
มนตรีและเสนาบดี ซึ่งเห็นชอบด้วยพระราชดำริว่า ควรสร้างปฐมบรมราชานุสรณ์มี 2 สิ่งประกอบกัน คือ พระบรมรูป
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก องค์ปฐมกษัตริย์ และสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาเชื่อม พระนครธนบุรี
พระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกนั้น ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงออกแบบ ให้ศาสตรจารย์ศิลปพีระศรี ปั้นหุ่นหล่อ ส่วนสะพานทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยากำแพงเพชรอัครโยธินอำนวยการสร้าง และพระราชทานนามว่า สะพานพระพุทธยอดฟ้า
เงินที่ใช้ในการก่อสร้างปฐมบรมราชานุสรณ์นี้ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวบริจาคพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์
ส่วน 1 รัฐบาลจ่ายเงินแผ่นดินส่วน 1 อีกส่วน 1 ทรงพระราชดำริให้บอกบุญเรี่ยไรชาวไทยทุกคน พระบาทสมเด็จพระปก
เกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดปฐมบรมราชานุสรณ์ โดยกระบวนพยุหยาตรา เมื่อ วันที่ 6 เมษายน 2475
ซึ่งเป็นวันครบ 150 ปี และมีการพระราชพิธี เฉลิมฉลองกรุงเทพมหานคร

ครั้นถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล รัชกาลที่ 8 ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงหล่อพระบรม
รูปพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ โรงหล่อกรมศิลปากร และได้อัญเชิญมาประดิษฐานที่ที่ปราสาทพระเทพบิดร
เมื่อ พ.ศ. 2492

เมื่อพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดลสวรรคต และได้ถวายพระเพลิงพระบรมศพตามขัตติยราชประเพณีแล้ว
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลปัจจุบัน ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีพระราชพิธีหล่อพระบรม
รูปพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล ที่โรงหล่อกรมศิลปากร ครั้นตกแต่งพระบรมรูปเสร็จเรียบร้อยแล้วจึง
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กำหนดการพระราชพิธีเชิญพระบรมรูป
ไปประดิษฐาน ณ ปราสาทพระเทพบิดร เมื่อวันที่ 3 เมษายนพ.ศ. 2502 โดยเสด็จพระราชดำเนินไปทรงบรรจุเส้นพระเจ้า
(เส้นผม) พระสุพรรณบัฎจารึกพระปรมาภิไธย พระดวงพระบรมราชสมภพ พระดวงเสวยราชย์ พระดวงสวรรคต ลงในพระกรัณฑ์ทองคำลงยา แล้วทรงบรรจุพระกรัณฑ์
ลง ณ เบื้องสูงของพระเศียรแห่งพระบรมรูป และในพระราชพิธีนี้ได้ทรงบรรจุเส้นพระเจ้า พระสุพรรณบัฎจารึกพระปรมา
ภิไธย พระดวงพระบรมราชสมภพ พระดวงเสวยราชย์ พระดวงสวรรคต ลงในพระกรัณฑ์ทองคำลงยาแล้วทรงบรรจุ ณ
เบื้องสูงของพระเศียรแห่งพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวด้วย

การถวายบังคมพระบรมรูปสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราชที่ปราสาทพระเทพบิดรเป็นราชประเพณีประจำปี ตั้งแต่วันที่
6 เมษายน 2461 เป็นต้นมา ครั้นได้สร้างพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกประดิษฐาน ณ ปฐมบรมราชา
นุสรณ์ เมื่อ พ.ศ. 2475 เนื่องในการเฉลิมพระนครบรรจบครบ 150 ปีแล้ว ในปีต่อมาทางราชการได้ประกาศให้ถือวันที่
6 เมษายน เป็นวันที่ระลึกมหาจักรีและเป็นวันสำคัญของชาติวันหนึ่ง กำหนดให้หยุดราชการและให้ ชักธงชาติ และได้
กำหนดให้มี การถวายบังคมพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกที่ปฐมราชานุสรณ์ สำนักพระราชวัง
ได้ออกหมายกำหนดการเสด็จพระราชดำเนิน ไปถวายสักการะพระบรมรูปที่ปฐมบรมราชานุสรณ์และถวายบังคมสมเด็จ
พระบูรพมหากษัตริยาธิราช ที่ปราสาทพระเทพบิดร

การถวายราชสักการะพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ที่ปฐมบรมราชานุสรณ์นั้น ตั้งแต่ พ.ศ. 2475
เป็นต้นมา เป็นการเสด็จของผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ต่อมาในระหว่าง พ.ศ. 2475 ถึง พ.ศ. 2496 พระบาทสมเด็จ
พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลปัจจุบัน ได้เสด็จพระราชดำเนินถวาย พวงมาลาเป็นราชสักการะ ภายหลังจาก
นั้นทรงมีพระราชปรารถพระราชทาน พลตรีหม่อมทวีวงศ์ถวัลศักดิ์ (ม.ร.ว.เฉลิมลาภ ทวีวงศ์)เลขาธิการพระราชวัง ว่าการ
วางพวงมาลาตามคตินิยมของชาวไทย ใช้สำหรับการไว้อาลัยแก่ชีวิตของผู้ที่จากไป แต่วันที่ระลึกมหาจักรี 6 เมษายนนั้น
เป็นมงคลดิถีคล้ายวันที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกเสด็จขึ้นเถลิงถวัลย์ราชสมบัติ สถาปนาพระบรมราชวงศ์
จักรี การถวายพวงมาลาจึงไม่เป็นการงดงามเหมาะสม ในปี พ.ศ. 2497 สำนักพระราชวังได้เปลี่ยนเป็นจัดพานพุ่มดอกไม้
สดทูลเกล้าฯ ถวายเป็นเครื่องราชสักการะอนึ่ง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาต ให้สาธุชน
เข้าถวายบังคมสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราช ที่ปราสาทพระเทพบิดร ตั้งแต่เวลา 8 นาฬิกา จนถึงเวลา 18 นาฬิกา
 

สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติคุ้มครอง พุทธศักราช 2551


โรงเรียนเพชรบูรณ์การ์เด้นฮิลล์ - มาตราฐานความรู้ ไร้ขอบเขต บรรยากาศธรรมชาติ หนึ่งเดียวในประเทศไทย
47 หมู่ 18 ต.กันจุ อ.บึงสามพัน จ.เพชรบูรณุ์ 67160 โทรศัพท์ 056-718074