หน้าหลัก
ประวัติของโรงเรียน
สัญลักษณ์ของโรงเรียน
วิสัยทัศน์/พันธกิจ/เป้าหมาย
ผังการบริหาร
ผังองค์กร
ลักษณะเฉพาะ
แผนที่ของโรงเรียน
แผนผังของโรงเรียน
เพลงมาร์ชประจำโรงเรียน
คณะครูผู้สอน
ปฏิทินกิจกรรม
แผนผังของโรงเรียน
 
 
บริหารการจัดการ
ฝ่ายวิชาการ
ฝ่ายธุรการการเงิน
ฝ่ายกิจการนักเรียน
ฝ่ายบริการ
 
 
ระเบียบการต่างๆ
ระเบียบการรับสมัคร
ค่าใช้จ่ายนักเรียน
ระเบียบเครื่องแต่งกาย
 
 
หลักสูตรการศึกษา
ระดับปฐมวัย
ระดับช่วงชั้นที่ 1
ระดับช่วงชั้นที่ 2
ระดับช่วงชั้นที่ 3
 
 
บริหารต่างๆ
อาคารชั้นเรียนต่างๆ
หอพักนักเรียนประจำ
ห้องอาหาร
กิจกรรมสันทนาการ
บรรยากาศแสนสบาย
อาคารประกอบ
สนามกีฬานานาชนิด
ห้องดนตรีไทย
ห้องคอมพิวเตอร์
ห้องสมุด
ห้องพยาบาล
ห้องกิจกรรมลูกเสือ
ห้องวิทยาศาสตร์
 
 
วันขึ้นปีใหม่ 1 มกราคม
ประวัติความเป็นมา

วันขึ้นปีใหม่ มีประวัติความเป็นมาซึ่งเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยตามความเหมาะสม ตั้งแต่ในสมัยเริ่มแรกเมื่อชาวบาบิโลเนียเริ่มคิดค้นการใช้ปฏิทิน โดยอาศัยระยะต่าง ๆ ของดวงจันทร์เป็นหลักในการนับ เมื่อครบ 12 เดือนก็กำหนดว่าเป็น 1 ปี และเพื่อให้เกิดความพอดีระหว่างการนับปีตามปฏิทินกับปีตามฤดูกาล จึงได้เพิ่มเดือนเข้าไปอีก 1 เดือน เป็น 13 เดือนในทุก ๆ 4 ปีต่อมาชาวอียิปต์ กรีก และชาวเซมิติค ได้นำปฏิบัติของชาวบาบิโลเนียมาดัดแปลงแก้ไขอีกหลายคราวเพื่อให้ตรงกับฤดูกาลมากยิ่งขึ้น จนถึงสมัยของกษัตริย์จูเลียต ซีซาร์ (ประมาณ 46 ปี ก่อนคริสต์ศักราช) ได้นำความคิดของนักดาราศาสตร์ชาวอียิปต์ชื่อโยซิเยนิส มาปรับปรุงให้หนึ่งปีมี 365 วัน โดยทุก ๆ 4 ปี ให้เติมเดือนที่มี 28 วันเพิ่มขึ้นอีก 1 วัน เป็น 29 วัน คือเดือนกุมภาพันธ์ เรียกว่า อธิกสุรทิน เมื่อเพิ่มให้เดือนกุมภาพันธ์มี 29 วันให้ทุก ๆ 4 ปี แต่วันในปฏิทินก็ยังไม่ค่อยตรงกับฤดูกาลนัก คือเวลาในปฏิทินยาวกว่าปีตามฤดูกาล เป็นเหตุให้ฤดูกาลมาถึงก่อนวันในปฏิทิน และในวันที่ 21 มีนาคมตามปีปฏิทินของทุก ๆ ปี จะเป็นช่วงที่มีเวลากลางวันและกลางคืนเท่ากันคือเป็นวันที่ดวงอาทิตย์จะขึ้นตรงทิศตะวันออก และลับลงตามทิศตะวันตกเป๋ง วันนี้ทั่วโลกจึงมีช่วงเวลาเท่ากับ 12 ซ.ม.เท่ากัน เรียกว่า วันทิวาราตรีเสมอภาคมีนาคม (Equinox in March)

แต่ในปี พ.ศ.2125 วัน Equinox in March กลับไปเกิดขึ้นในวันที่ 11 มีนาคม แทนที่จะเป็นวันที่ 21 มีนาคม ดังนั้นพระสันตะปาปาเกรกอรี่ที่ 13 จึงทำการปรับปรุงแก้ไขหักวันออกไป 10 วัน จากปีปฏิทิน และให้วันหลังจากวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ.2125 แทนที่จะเป็นวันที่ 5 ตุลาคม ก็ให้เปลี่ยนเป็นวันที่ 15 ตุลาคมแทน (เฉพาะในปี 2125 นี้) ปฏิทินแบบใหม่นี้จึงเรียกว่าปฏิทินเกรกอเรี่ยน จากนั้นได้ปรับปรุงประกาศใช้ วันที่ 1 มกราคม เป็นวันเริ่มต้นของปีเป็นต้นมา

การแปลง พ.ศ. เป็น ค.ศ. ให้เอา ปี พ.ศ. ตั้ง ลบด้วย 543 พ.ศ. คือ พุทธศักราช
การแปลง ค.ศ. เป็น พ.ศ. ให้เอา ปี ค.ศ. ตั้ง บวกด้วย 543 ค.ศ. คือ คริสต์ศักราช
การแปลง พ.ศ. เป็น จ.ศ. ให้เอา ปี พ.ศ. ตั้ง ลบด้วย 1181 จ.ศ. คือ จุลศักราช
การแปลง พ.ศ. เป็น ร.ศ. ให้เอา ปี พ.ศ. ตั้ง ลบด้วย 2324 ร.ศ. คือ รัตนโกสินทร์ศก
การแปลง พ.ศ. เป็น ม.ศ. ให้เอา ปี พ.ศ. ตั้ง ลบด้วย 621 ม.ศ. คือ มหาศักราช

จันทรคติ คือ การนับวันเดือนปี โดยใช้การโคจรของพระจันทร์เป็นเกณฑ์ คือ นับขึ้นแรม นับเดือนอ้าย ยี่ สาม สี่ ฯลฯ นับปี ชวด ฉลู ขาล เถาะ ฯลฯ เรียกว่าการนับทางจันทรคติ
สุริยคติ คือ การนับวันเดือนปี โดยใช้การดคจรของพระอาทิตยเป็นเกณฑ์ คือวิธีการนับอย่างในปัจจุบัน เช่น วันจันทร์ อังคาร พุธ เดือนมกราคม กุมภาพันธ์ มีนาคม และปี พ.ศ. ปี ค.ศ. ต่าง ๆ ฯลฯ
กำหนดการเปลี่ยนแปลงวันปีใหม่ในเมืองไทย

แต่เดิมนั้น เราถือเอาวันแรม 1 ค่ำเดือนอ้าย เป็นวันขึ้นปีใหม่เพื่อให้สอดคล้องกับคติแห่งพระพุทธศาสนา ซึ่งถือช่วงเหมันต์หรือหน้าหนาวเป็นการเริ่มต้นปี ต่อมาได้เปลี่ยนแปลงไปตามคติพราหมณ์ คือถือเอาวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 เป็นวันขึ้นปีใหม่ ซึ่งตรงกับวันสงกรานต์ ดังนั้น ในสมัยโบราณาเราจึงถือเอาวันสงกรานต์เป็นวันขึ้นปีใหม่ของไทย (ดูรายละเอียดในวันสงกรานต์)

แต่การนับวันปีใหม่หรือวันสงกรานต์ตามวันทาง จันทรคติ เมื่อเทียบกับวันทาง สุริยคติ ย่อมคลาดเคลื่อนกันไปในแต่ละปี ดังนี้ ในวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 ปี พ.ศ.2432 (ร.ศ.108) ซึ่งตรงกับวันที่ 1 เมษายน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงให้ถือเอาวันที่ 1 เมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่ของไทยนับแต่นั้นมา เพื่อวันปีใหม่จะได้ตรงกันทุกปีเมื่อนับทางสุริยคติ (แม้ว่า วันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 ปีต่อ ๆ มาจะไม่ตรงกับวันที่ 1 เมษายนแล้วก็ตาม) ดังนั้นจึงถือเอาเดือนเมษายนเป็นเดือนแรกของปีนับแต่นั้นมา ครั้นถึงปี พ.ศ.2483 ในวันที่ 24 ธันวาคม คณะรัฐบาลในสมัยของ จอมพล ป.พิบูลสงคราม ได้ประกาศให้ใช้วันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2484 เป็นวันปีใหม่ตามสากลนิยมตั้งแต่นั้นมาจนถึงปัจจุบัน ทั้งนี้ เพื่อให้สอดคล้องกับบรรดานานาอารยประเทศ ซึ่งนิยมใช้วันที่ 1 มกราคม เป็นวันขึ้นปีใหม่กันทั่วโลก

การทำบุญในวันขึ้นปีใหม่
เมื่อใกล้ถึงเทศกาลปีใหม่ ประชาชนจะพากันเก็บกวาดบ้านเรือนให้สะอาด ประดับไฟและธงชาติตามสถานที่สำคัญๆ ครั้นถึงวันที่ 31 ธันวาคม ก็จะมีการทำบุญเลี้ยงพระ ไปวัด เพื่อประกอบกิจกุศลต่าง ๆ เช่น ฟังพระธรรมเทศนา ถือศีลปฏิบัติธรรม แต่บางคนก็แค่ทำบุญตักบาตร ตอนกลางคืนบางแห่งอาจจัดเทศกาลกินเลี้ยงเป็นที่ครื้นเครงสนุกสนาน เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่
เช้าวันที่ 1 มกราคม จะมีการทำบุญตักบาตร ไปท่องเที่ยวหรือเยี่ยมเยียนญาติผู้ใหญ่ผู้ที่เคารพนับถือ มีการมอบของขวัญและบัตรอวยพรให้แก่กัน สำหรับในต่างจังหวัด จะมีการทำบุญเลี้ยงพระที่วัด และอุทิศส่วนกุศลไปให้แก่ญาติที่ล่วงลับ กลางคืนมีการละเล่นพื้นบ้านหรือจัดมหรสพมาฉลอง

คติข้อคิดในวันขึ้นปีใหม่
เมื่อวันเวลาผันเปลี่ยนเวียนไปครบ 1 ปี เราได้อยู่รอดปลอดภัยมาจนถึงวันขึ้นปีใหม่ ขอให้ลองมองย้อนหลังกลับไปคิดดูว่า วันเวลาที่ผ่านมานั้นเราได้ใช้มันอย่างคุ้มค่าหรือเปล่า และได้กระทำคุณงามความดีอันใดไว้บ้าง และควรหาโอกาสกระทำให้ดียิ่ง ๆ ขึ้นทุกปี ในขณะเดียวกันเราได้กระทำความผิดหรือสิ่งใดที่ไม่ถูกต้องไว้หรือไม่ หากมีต้องรีบปรับปรุงแก้ไขตัวเอง
กิจกรรมต่าง ๆ ที่ควรปฏิบัติในวันขึ้นปีใหม่

1. เก็บกวาดดูแลทำความสะอาด ประดับธงชาติตามอาคารบ้านเรือน
2. ทำบุญตักบาตร กรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลให้ญาติและผู้มีพระคุณที่ล่วงลับไปแล้ว
3. ไปวัดเพื่อทำบุญ ถือศีล ปฏิบัติธรรม หรือฟังพระธรรมเทศนา ฯลฯ เพื่อให้จิตใจสดชื่นแจ่มใสเบิกบาน ในโอกาสวันขึ้นปีใหม่
4. ตรวจสอบตัวเอง เกี่ยวกับกิจกรรมต่างๆ ที่ได้ทำมาตลอดปี ว่ามีความเจริญก้าวหน้าสำเร็จลุล่วงไปได้แค่ไหน หากมีคั่งค้างก็ต้องเร่งขวนขวายปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องของตน ถ้าอยู่ในเกณฑ์ดีก็ให้ตั้งใจทำให้ดียิ่ง ๆ ขึ้นไป
5. หากมีเรื่องบาดหมางหรือขุ่นเคืองกับผู้ใด ในวันนี้ควรถือโอกาสให้อภัยซึ่งกันและกัน เริ่มสานความสัมพันธ์ให้กลับมาเริ่มต้นใหม่ด้วยดี
 

สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติคุ้มครอง พุทธศักราช 2551


โรงเรียนเพชรบูรณ์การ์เด้นฮิลล์ - มาตราฐานความรู้ ไร้ขอบเขต บรรยากาศธรรมชาติ หนึ่งเดียวในประเทศไทย
47 หมู่ 18 ต.กันจุ อ.บึงสามพัน จ.เพชรบูรณุ์ 67160 โทรศัพท์ 056-718074